CO2 Laser คืออะไร ?
CO2 Laser เป็นเลเซอร์ที่อยู่ในกลุ่มที่มีพลังงานสูง ซึ่งหลักการคือ กำจัดส่วนเกินที่ไม่ต้องการ รักษาโรคผิวหนัง โดยใช้เครื่องเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในด้านประสิทธิภาพของการรักษา และความปลอดภัย โดยพลังงานของเครื่องแสงอินฟราเรดที่ผลิตจากเครื่องเลเซอร์ จะถูกดูดซับโดยน้ำที่เป็นส่วนประกอบในชั้นผิวหนังกำพร้า และหนังแท้ ทำให้เกิดความร้อนสูงในตำแหน่งที่ต้องการรักษา ทำให้ส่วนเกินที่ไม่ต้องการหลุดลอกออกไป
CO2 Laser (คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์) เป็นเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 10,600 นาโนเมตร สามารถตัดและทำลายเนื้อเยื่อในจุดที่มีปัญหาโดยไม่ทำให้เลือดออก คือรักษากระเนื้อ , ไฝ , ไฝนูน , ขี้แมลงวัน , ติ่งเนื้องอก , สิวอุดตันหัวปิด , สิวข้าวสาร , หูด
CO2 Laser
CO2 Laser จะเข้าไปตัดติ่งเนื้อด้วยการทำให้เกิดการไหม้และหลุดออกเฉพาะจุดที่เลือก ไม่มีเลือดออก และเหลือเพียงร่องรอยบนผิวชั้นบนไม่นานก็หาย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือมะเร็ง และก่อนทำการเลเซอร์ แพทย์จะประเมินความเหมาะสมในการรักษาก่อนเสมอ พูดคุยถึงปัญหาและจุดที่ต้องการรักษา ทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการรักษา รวมถึงแพทย์จะประเมินและวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สามารถบอกลาปัญหาผิวที่กวนใจได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย วิธีนี้ไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้เวลานานในการฟื้นฟูผิว
หลักการทำงาน CO2 Laser
การทำงานของ CO2 Laser หรือ คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ จะเริ่มจากการปล่อยลำแสงเลเซอร์ขนาดเล็ก มีคุณสมบัติจับกับโมเลกุลน้ำที่ผิวหนังได้ดี มีความแม่นยำสูง ลงไปบริเวณที่ต้องการรักษา โดยพลังงานของแสงอินฟราเรดที่ผลิตจากเครื่อง CO2 Laser จะทะลุผ่านชั้นผิวหนัง ซึ่งน้ำในเซลล์ผิวจะดูดซับเอาไว้ ทำให้เกิดความร้อนสูงในตำแหน่งที่รักษา โดยหากจี้ลงตรงติ่งเนื้อหรือเนื้องอกผิวหนังเช่นขี้แมลงวันหรือไฝ จะเกิดการทำลายเนื้อส่วนนั้น หรือหากใช้เพื่อการกรอผิวแบบ fractional CO2 laser ก็จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยคอลลาเจนใหม่ รอยแผลหายไปและผิวหนังดูเรียบเนียนขึ้น
Co2 Laser ช่วยแก้ปัญหาผิวอะไรได้บ้าง ?
- กระเนื้อ
- ไฝนูน
- ขี้แมลงวัน
- ติ่งเนื้องอก
- สิวอุดตันหัวปิด
- สิวข้าวสาร
- หูด
- ริ้วรอยเล็กรอบดวงตา แก้ม หน้าผาก รอบปาก
- หลุมสิว
- กระชับรูขุมขน
- กระตุ้นคอลลาเจน
- ผิวเรียบเนียน
ไฝ คืออะไร ?
ไฝ คือ ภาวะหนึ่งของร่างกายที่บริเวณนั้นๆมีการรวมกลุ่มกันของเซลล์สร้างเม็ดสีหรือเซลล์ไฝ (Nevus cell) ทำให้เห็นไฝเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล อาจเป็นจุดเรียบหรือตุ่มนูน
ไฝแบ่งตามชนิดที่เป็นได้ 2 ประเภท
1. ไฝตั้งแต่แรกเกิด มักมีขนาดโตตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรขึ้นไป เป็นก้อนนูน อาจมีขนขึ้นบริเวณไฝด้วย
2. ไฝที่เกิดขึ้นภายหลัง มักเป็นบริเวณที่โดนแสงแดด มักมีขนาดเล็ก เรียบ ถ้าเป็นไฝที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ผิวเรียบและไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะเรียกว่า ขี้แมลงวัน ถ้าไฝมีลักษณะนูน โตเร็ว แตกเป็นแผล ควรมาพบแพทย์
ไฝบางประเภทอาจกลายเป็นมะเร็งของผิวหนังได้ สาเหตุที่แน่นอนยังไม่ทราบแน่ชัด ส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ผิวหนังถูกกับสิ่งกระตุ้นเป็นเวลานานๆ เช่นถูกแสงแดดจัดๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี ถูกถูไถจนเป็นแผลเป็นเวลานาน หรือ ถูกสารเคมี
ขี้แมลงวัน คืออะไร ?
ขี้แมลงวัน เกิดมาจากเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocyte) ที่อยู่บนผิวหนังชั้นกำพร้า รวมตัวกันสร้างเม็ดสีที่มากจนผิดปกติจนกลายเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ขึ้นตามบนผิวหนัง ซึ่งขี้แมลงวันมักจะมีสีดำหรือน้ำตาล มีลักษณะเป็นวงกลมหรือคล้ายกับวงรี ซึ่งโดยทั่วไปแล้วขี้แมลงวันที่เกิดขึ้นตามจุดต่างๆบนผิวหนัง จะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือผิวหนัง
ปัจจัยกระตุ้นอะไรบ้างที่ทำให้เกิดขี้แมลงวัน?
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดขี้แมลงวัน นั่งก็คือ การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (รังสี UV) จากการเผชิญกับแสงแดดโดยขาดการป้องกัน จึงทำให้ร่างกายมีการสร้างเม็ดสีเมลานินขึ้นมามากผิดปกติจนเกิดการรวมตัวกันเป็นจุดนูนสีดำที่ผิว หรือที่เรียกว่าขี้แมลงวัน
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยกระตุ้นมาจากผู้ป่วยที่มีโรคผิวหนังอักเสบ โรคสะเก็ดเงิน ที่ต้องรับการฉายรังสีเพื่อยับยั้งการเติบโตของผิวหนังก็อาจเป็นปัจจัยที่จะกระตุ้นการเกิดขี้แมลงวันได้ และยังมีผู้ที่ป่วยเป็นโรค PJS (Peutz-Jeghers Syndrome) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมอีกชนิดหนึ่ง ที่อาจเกิดขี้แมลงวันบนใบหน้าได้เช่นกัน
กระเนื้อ คืออะไร ?
กระเนื้อ (Seborrheic Keratosis) เป็นก้อนเนื้อชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อขนาดเล็กคล้ายหูดนูนขึ้นมาจากผิวหนัง มักพบตามใบหน้า หน้าอก ไหล่ และหลัง ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและไม่จำเป็นต้องรักษา ยกเว้นในรายที่กังวลเรื่องความสวยงาม ซึ่งพบได้บ่อยในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ
ลักษณะหรืออาการของกระเนื้อสังเกตได้จาก
- เป็นก้อนเนื้อรูปร่างทรงกลมหรือวงรีคล้ายแปะติดอยู่กับผิวหนัง
- ขนาดของกระเนื้อส่วนมากมีขนาดเล็กไปจนถึงประมาณ 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร)
- มีหลายสี พบได้ตั้งแต่น้ำตาลอ่อนหรือเข้มไปจนถึงสีดำ
- พื้นผิวของกระอาจมีลักษณะเรียบมันหรือขรุขระ ค่อนข้างแบนหรือนูนขึ้นมาเล็กน้อย
- พบได้บ่อยตามใบหน้า หนังศีรษะ หน้าอก ไหล่ ท้อง และหลัง มักเกิดเป็นกระจุกมากกว่าจุดเดียว แต่จะไม่พบตามฝ่ามือหรือฝ่าเท้า
- อาจมีอาการคันหรือเกิดการระคายเคือง แต่ไม่มีอาการเจ็บ
สิวหิน คืออะไร ?
สิวหิน (SYRINGOMA) คือเนื้องอกของท่อเหงื่อหรือต่อมเหงื่อ แม้สิวหินจะเป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้ายอันตราย แต่ก็สร้างความรำคาญใจให้กับผู้ที่เป็นสิวหินอยู่ไม่น้อย เพราะสิวหินเป็นสิวที่ใช้เวลานานหลายปีในการสลายไปตามธรรมชาติ อาจจะนานเป็นสิบๆปี ทำให้สิวชนิดจึงถูกเรียกว่า สิวหิน
สิวหินเกิดจากสาเหตุใด
แม้เราจะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสิวหิน หรือสิวหินชนิดต่างๆ อย่างสิวหินดำ สิวหินใต้ตาเกิดจากอะไร แต่ปริมาณของสิวหินที่เกิดขึ้นจะมีจำนวนมากหรือน้อยขึ้นกับตัวบุคคลและกรรมพันธุ์ และยิ่งมีจำนวนมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
หูด คืออะไร ?
หูด (Warts) คือ ภาวะผิวหนังทั่วไป ที่ส่งผลกระทบต่อคนในทุกกลุ่มอายุ หูดเปรียบดั่งการเจริญเติบโตของผิวหนังที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นผลมาจากการติดเชื้อ Human Papillomavirus (HPV) โดยแสดงออกมาในรูปแบบและตำแหน่งต่างๆ ในร่างกาย หูดเหล่านี้ มักจะทำให้ผู้ที่เป็นเกิดความกังวลในภาพลักษณ์ภายนอก ที่ไม่น่าดูและบางครั้งก็ทำให้รู้สึกไม่สบาย และเกิดอาการอื่นๆ หากมีการทำความเข้าใจ โรคหูด สาเหตุ อาการ และทางเลือกในการใช้ ยา รักษา หูด ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการ และป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ
โรคหูด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Human papilllomavirus หรือเอชพีวี (HPV) ที่มีมากกว่า 100 ชนิดที่ภายในชั้นผิวหนังกำพร้า ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตราย แต่บางสายพันธุ์ก็สามารถทำให้ผู้ติดเชื้อ เป็นโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งทวารหนัก หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยหูดสามารถติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการจูบ การสัมผัส การมีเพศสัมพันธ์ และอาจพบในเด็ก หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำได้ด้วย โดยเมื่อเชื้อไวรัส HPV เข้าสู่ร่างกาย จะไปกระตุ้นให้มีการแบ่งตัวของเซลล์จำนวนมาก จนเกิดเป็นตุ่มแข็งที่บริเวณผิวหนัง สามารถเกิดได้หลายที่ในร่างกายมนุษย์ เนื่องจากหูดเกิดจากการติดเชื้อไวรัส จึงสามารถหายไปเองโดยไม่ได้รับการรักษา แต่หูดบางชนิดอาจคงอยู่นานหลายปี และใช้เวลาฟักตัวประมาณ 1-6 เดือน
ติ่งเนื้อ คืออะไร ?
ติ่งเนื้อ (Skin Tags/Acrochordon) คือ ก้อนเนื้อเล็กมีลักษณะนุ่ม ซึ่งเกิดขึ้นมาและเป็นติ่งอยู่บนผิวหนัง มีสีและขนาดแตกต่างกันไป โดยมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงประมาณ 2 นิ้ว ติ่งเนื้อไม่ใช่เนื้อร้าย และไม่กลายเป็นมะเร็งผิวหนัง โดยทั่วไปแล้ว บริเวณผิวหนังที่เป็นข้อพับมักเกิดติ่งเนื้อ เช่น คอ รักแร้ ลำตัว ใต้ราวนม หรือบริเวณหัวหน่าว ผู้ที่มีติ่งเนื้ออาจรู้สึกระคายเคืองในกรณีที่ติ่งเนื้อเสียดสีกับเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ ทั้งนี้ ผู้ที่มีอายุมากขึ้นอาจเกิดติ่งเนื้อได้ พบได้ทั่วไปสำหรับผู้ที่มีอายุ 50-60 ปี ขึ้นไป และมีแนวโน้มเกิดขึ้นกับผู้ที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ตั้งครรภ์ หรือมีบุคคลในครอบครัวเคยเกิดติ่งเนื้อ
สาเหตุของติ่งเนื้อ
ติ่งเนื้อเกิดจากผิวหนังล้อมรอบเส้นใยคอลลาเจนและเส้นเลือด คอลลาเจนดังกล่าวเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ตามร่างกายโดยเฉพาะที่ผิวหนัง ผู้ที่อายุมากมักมีติ่งเนื้อขึ้นมา ส่วนเด็กเล็กหรือทารกอาจมีติ่งเนื้อขึ้นมาบ้าง สาเหตุที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อยังไม่ปรากฏแน่ชัด
ขั้นตอนการรักษาด้วย Co2 Laser
กรณีจี้ไฝ กระ ติ่งเนื้อ จะต้องทายาชา ทิ้งไว้ 30-45 นาที หรือ ฉีดยาชาบริเวณที่ต้องทำการรักษา ในกรณีที่จุดที่ต้องการทำการรักษามีขนาดใหญ่ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บขณะยิงเลเซอร์หลังทำการรักษาแพทย์จะทำความสะอาดแผล ทายาฆ่าเชื้อ แปะแผลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ และจะนัดดูแผลอีกทีภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยทั่วไปแผลที่เกิดจาก Co2 Laser ปากแผลจะเรียบและมีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่แล้วจะไม่เกิดแผลเป็น ในกรณีรักษาสิวจะมีจุดแดงๆ ใช้เวลาอย่างน้อย 4-7 วัน รอยแดงจะหายสนิท
ข้อดีของการทำ CO2 Laser
- ใช้เวลาประมาณ 5 นาทีต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับจุดที่ทำและความยากง่ายของการรักษา
- แผลเล็ก โอกาสเกิดแผลเป็นน้อย
- สามารถเห็นผลการรักษาได้ตั้งแต่ครั้งแรก
- แผลหายเร็ว สะเก็ดหลุดลอกเองภายใน 7 วัน
- สามารถจี้ไฝ ขี้แมลงวัน หรือติ่งเนื้อได้ถาวร
- เป็นเทคโนโลยีที่ปลอดภัย สามารถทำได้ทุกจุดของร่างกาย
ก่อนทำ CO2 Laser เตรียมตัวอย่างไร ?
- กรณีจี้ไฝ หรือติ่งเนื้อขนาดใหญ่ ควรหยุดยา และ วิตามินที่มีผลทำให้เลือดแข็งตัวช้า 5-7 วัน
- หากมีโรคประจำตัว หรือมีประวัติการแพ้ยาต่างๆ โดยเฉพาะยาชา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการทำเลเซอร์
ดูแลอย่างไร หลังทำ CO2 Laser ?
- หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำประมาณ 24 ชั่วโมง
- ทาขี้ผึ้งฆ่าเชื้อ จนครบ 7 วัน
- งดแต่งหน้า และหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางบริเวณที่ทำเลเซอร์จนกว่าแผลจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันการระคายเคือง
- หลังจากการรักษาประมาณ 3 วัน ช่วงนี้แผลอาจจะตกสะเก็ด ควรปล่อยให้สะเก็ดหลุดไปเอง ห้ามแกะเกาบริเวณสะเก็ด เนื่องจากอาจให้เกิดการติดเชื้อหรือทำให้ผิวบริเวณนั้นมีรอยแดง รอยดำได้
- ควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด 1-2 สัปดาห์ เพราะอาจทำให้แผลดำคล้ำขึ้นได้ เมื่อแผลหายเป็นปกติแล้วควรทาครีมกันแดดที่มี SPF30 PA+++ ขึ้นไป เพื่อปกป้องผิว
รีวิว CO2 Laser
ทำไมต้องทำ CO2 Laser ที่ Begift Clinic
ที่ Begift Clinic เราใช้เครื่อง CO2 Laser แท้ที่ผ่านการรับรองจาก อย. เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุด แพทย์ของเราจะประเมินปัญหาผิวที่ต้องการรักษาอย่างละเอียดเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมและตรงจุด การทำเลเซอร์ของเราจึงรวดเร็วและได้ผลดีเยี่ยม นอกจากนี้ เรายังให้บริการดูแลผิวอย่างครบวงจร มั่นใจได้เลยว่าทางเราใส่ใจทุกรายละเอียดของทุกขั้นตอนการรักษา